หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          ละครชาตรีโบราณมีการแต่งกายเหมือนละครนอก ดังที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2542 : 90) ได้อธิบายการแต่งกายของละครชาตรีโบราณ ซึ่งมีการแต่งกายเหมือนละครนอก สวมสนับเพลายาวกรอมเท้า นุ่งผ้าหยักรั้งสูง มีหางกระเบนห้อยลงมาเล็กน้อยในลักษณะเป็นหางหงส์ ไม่สวมเสื้อ แต่มีสร้อยคอและสายสร้อยสังวาล ข้อมือสวมกำไล นิ้วสวมเล็บแหลมยาวเรียว ข้อเท้าสวมกำไลและมีลูกกระพรวนศีรษะสมเทริด (ชฎา)  การแต่งตัวและแต่งหน้าของละครนอกโบราณจะทาตัวเป็นสีเหลืองโดยใช้ขมิ้น แต่หน้าขาวโดยใช้ดินสอพลอง ทาปากแดงด้วยชาด เขียนคิ้วดำด้วยเขม่าดินหม้อที่เกิดจากไม้ฟืนตามก้นหม้อ ก้นกระทะ แต่ในปัจจุบันการแต่งกายมีการพัฒนาขึ้น โดยนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง

          ตัวพระ  สมชฎา ทัดดอกไม้ 2 ข้าง สวมเสื้อโดยโบราณเป็นเสื้อแขนยาวมีหงอน (อินทนู) นุ่งผ้าหางหงส์  ปัจจุบันนิยมเสื้อแขนสั้น นุ่งโจงกระเบนไม่มีหาง ห้อยชายระบาด (ห้อยหน้าและห้อยข้าง) มีรัดเชบ (พอกข้าง)  สวมนวมคอ (กรองคอ)  มีเครื่องประดับคือทับทรวง สังวาล สวมข้อเท้าและข้อมือ สวมถุงเท้าสีขาว

          ตัวนาง  สวมชฎา ทัดดอกไม้ 2 ข้าง  ใส่เสื้อนาง (เสื้อในนาง)  ผ้าห่มนาง  นุ่งผ้าจีบหน้านาง  ใส่นวมคอ (กรองคอ)  เครื่องประดับคือ ทับทรวง สวมข้อมือ และข้อเท้า

          นักดนตรี มีการแต่งกายในชุดสุภาพ มิได้กำหนดเป็นแบบแผนว่าต้องแต่งแบบใด ในการแสดงรำสิบสองท่า ผู้แสดงต้องใส่ชุดยืนเครื่องพระ-นาง  ส่วนของการรำซัดชาตรี ผู้แสดงจะต้องแต่งกายยืนเครื่องตัวพระเท่านั้น ออกรำเป็นคู่ และในการแสดงตัวเอกของเรื่องจะแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง และตัวละครอื่นๆ จะแต่งกายตามลักษณะของตัว เช่น ตัวตลก  นางแมว เป็นต้น


 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘