หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


ลักษณะของการขับร้อง

ละครเท่งตุ๊กเป็นการแสดงที่ดำเนินเรื่องโดยใช้บทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ การขับร้องละครเท่งตุ๊ก จัดเป็นการขับร้องประกอบละคร ซึ่งละครแต่ละแบบก็มีการร้องดำเนินเรื่องแตกต่างกัน เช่น การร้องร่าย ละครชาตรีก็ร้องร่ายชาตรี ละครนอกก็ร้องร่ายนอก เป็นต้น  การร้องของละครเท่งตุ๊ก มีการร้องหลากหลายแบบโดยผู้แสดงเป็นผู้ร้องเอง และมีลูกคู่คอยร้องรับ เช่น ร้องนำ 1 วรรค แล้วลูกคู่ร้องรับ  แต่โบราณมาจะมีผู้บอกบท คอยบอกเนื้อร้อง และเพลงที่ใช้ประกอบ ปัจจุบันมีการปรับปรุงวิธีการเล่นคล้ายลิเก คือ มีการร้องส่งเพลงเหมือนลิเก โดยเรียกการเล่นแบบนี้ว่า “พันทาง”

ในการดำเนินเรื่องของละครเท่งตุ๊ก จะมีทำนองร้องต่างๆ เช่น ร้องร่าย ร้องโทน  ร้องถอนบท ร้องโอ้ เป็นต้น

ลักษณะของบทเพลง

การแสดงละครเท่งตุ๊ก มีการแสดงโดยใช้โทน  กลองตุ๊ก  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ บรรเลงประกอบการขับร้องและการแสดง ลักษณะเดียวกับเพลงพื้นบ้านภาคกลางโดยบรรเลงจังหวะ หน้าทับต่างๆ ประกอบทำนองร้อง ตั้งแต่เริ่มแสดงจนจบลักษณะของบทเพลงในละครเท่งตุ๊ก มีดังนี้

  1. โหมโรง  คือการบรรเลงโทนกลองเป็นจังหวะหน้าทับต่างๆ ก่อนเริ่มการแสดง
  2. การร้องประเภทต่างๆ เช่น ร้องร่าย  ร้องโทน  ร้องถอนบท  ร้องโอ้ เป็นต้น โดยมีโทน กลองกำกับจังหวะหน้าทับเพื่อใช้ในการดำเนินเรื่องในละคร
  3. เพลงหน้าพาทย์ คือเพลงที่ใช้ประกอบกิริยาอาการมนุษย์ สัตว์ วัตถุ และธรรมชาติในเรื่อง โดยในละครเท่งตุ๊ก ใช้เพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เช่น เชิด เสมอ รัว โอด โดยใช้โทน กลองตุ๊ก พร้อมเครื่องประกอบจังหวะตีเป็นจังหวะหน้าทับ

ทำนองเพลงที่สำคัญ

ดนตรีที่ใช้ในการแสดงละครเท่งตุ๊กจะประกอบด้วยเพลงที่เป็นการบรรเลงดนตรีล้วนๆ และเพลงที่มีการขับร้อง ดังนี้

  1. เพลงที่เป็นดนตรีล้วน ได้แก่
    • เพลงโหมโรง  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงก่อนมีการแสดง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเริ่มต้นการแสดง
    • เพลงรำสิบสองท่า  เป็นทำนองเพลงที่บรรเลงประกอบการร่ายรำ  ท่ารำสิบสองท่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่ใช้ในการรำเพื่อแก้บนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • เพลงลงโทน  เป็นทำนองเพลงสั้นๆ บรรเลงบ่งบอกถึงการจบการแสดง เป็นการลาโรง
  2. เพลงที่มีการขับร้อง ได้แก่
    • รำซัดชาตรี  เป็นการแสดงเพื่อบูชาครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์การแสดง ผู้รำจะเป็นผู้ขับร้อง และดนตรีจะบรรเลงจังหวะหน้าทับประกอบ เมื่อร้องบทไหว้ครูในรำซัดจบ ดนตรีจะบรรเลงจังหวะหน้าทับให้ผู้แสดงรำซัดชาตรีต่อไป
    • เพลงร้องในละคร  ในการแสดงละครเท่งตุ๊ก จะใช้การขับร้องและเจรจาในการดำเนินเรื่อง การร้องในละครจะมีทำนองต่างๆ เช่น ร้องถอนบท  ร้องร่าย  ร้องโอ้  ร้องกล่อม  ร้องทรงม้า  ร้องชะเอิงเอย  ร้องฉุยฉาย เป็นต้น





 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘