หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ละครรำของไทยมี 3 อย่างคือ ละครชาตรี ละครนอกและละครใน โดยละครชาตรีเป็นละครเดิม และเป็นพื้นฐานของละครอื่นๆ เช่น ละครนอกเมื่อสิ้นแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2310 ครูละครหลวงได้กระจัดกระจายหนีหายจากภัยสงครามไปที่ต่างๆ หน่วนหนึ่งหนีไปอยู่ที่นครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยกรุงธนบุรี พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช  ในปี พ.ศ.2312 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำละครหลวงจากนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นละครผู้หญิงของเจ้าพระยามหานครฯ สมทบกับละครที่รวบรวมได้จากที่อื่นมาหัดละครหลวงขึ้นใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.2323 งานฉลองพระแก้วมรกตทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ละครของเจ้าพระยามหานครฯ มาแสดงประชันกับละครหลวง

         ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ในปี พ.ศ.2325 ทรงฟื้นฟูมหรสพต่างๆ  เช่น โขน หุ่นหลวง และละครผู้หญิงให้มีแต่พระราชวังหลวงเพียงแห่งเดียวตามแบบ ครั้งกรุงศรีอยุธยา 

         เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครและทรงปรับปรุงบทละครต่างๆ  บทละครในเรื่องอิเหนา บทละครนอก 6 เรื่อง (สังข์ทอง  คาวี  มณีพิชัย  ไกรทอง  ไชยเชษฐ์  สังข์ศิลปะไชย) บทโขนหลายตอน เป็นต้น เป็นสมัยที่การละครเจริญรุ่งเรืองที่สุด

         สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เลิกละครหลวงแต่ละครของผู้อื่นก็ไม่ทรงห้าม จึงเกิดคณะละครขึ้นมากมายในนคร  เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้หัดละครหลวง และทรงโปรดอนุญาตให้เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครหญิงขึ้นได้ มีละครชาตรีของหลวง เป็นละครชาตรีผู้หญิงล้วน เดิมเป็นละครของพระองค์เจ้าปัทมราช หัดละครขึ้นที่เมืองนคร ศรีธรรมราช และพามาถวาย ทรงโปรดให้เล่นเป็นละครชาตรี จึงเป็นละครชาตรีของหลวง นอกจากนั้นยังมีละครชาตรีของนายหนู บ้านสนามควาย เล่นอย่างละครโนราชาตรี นครศรีธรรม ราช แต่ตัวนายโรงใส่ชฎา ตัวนางแต่งตัวอย่างละครนอก ส่วนละครชาตรีเมืองเพชรบุรี เป็นการละเล่นของชาวบ้านที่พัฒนามาพร้อมๆ กับสมัยกรุงศรีอยุธยา

         จากที่กล่าวมาข้างต้นมาจนถึงรัชกาลที่ 4 จะเห็นได้มามีคณะละคร ตลอดจนครูละครเพิ่มมากขึ้น และเผยแพร่ขยายออกมาตามภูมิภาคต่างๆ  ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปรับปรุงละครชาตรี ให้มีมาตรฐานเรียกว่าละครชาตรีเครื่องใหญ่ โดยใช้วงปี่พาทย์ของละครนอกและวงปี่พาทย์ละครชาตรีผสมเข้าด้วยกันบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อย่างละครนอก การขับร้องใช้ร้องทางละครนอกและบรรจุเพลงบางเพลงที่มีสำเนียงออกไปทางภาคใต้ผสมเสียงกรับ โทน และฆ้องคู่ ใช้เพลงร่ายทั้ง 2 แบบ คือร่ายนอก และร่ายชาตรี

         การละเล่นพื้นบ้านของภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราดนั้นมีการละเล่นมหรสพที่ปัจจุบันเรียกกันว่าละครเท่งตุ๊ก แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าละครเท่งตุ๊ก เป็นละครสืบทอดจากละครชาตรี ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเผยแพร่มาทางภาคตะวันออกในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นบ้านจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะและสืบทอดต่อๆ กันมา ละครเท่งตุ๊กในจันทบุรีแต่เดิมก็เรียกว่าละครชาตรีจนถึงประมาณรัชกาลที่ 4-5 มีการเรียกละครเท่งกรุ๊ก ตามเสียงโทนกลองคือเสียงเท่งจากโทน เสียงกรุ๊กจากกลองตุ๊ก และเสียงเพี้ยนมาเป็นละครเท่งตุ๊ก ในปัจจุบันท้องถิ่นแถบนี้จะเรียกละครชาตรีบ้าง ละครเท่งตุ๊กบ้าง หรือนำมาเรียกต่อกันว่า “ชาตรี-เท่งตุ๊ก” ผู้ที่สืบทอดละครเท่งตุ๊กแต่โบราณในจังหวัดระยอง ได้แก่ ครูหรีด สนิทราษฎร์, ครูตาล จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ครูขุนทอง, ครูทิม ภาคกิจ, ครูวัน, ครูแย้ม, ครูเทียม, ครูฉ่ำ, ครูดำ และครูงาม จังหวัดตราด ได้แก่ ครูฟุ้ง และครูต้อ ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว แต่ยังมีลูกศิษย์ที่สบทอดต่อกันมา



 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘