หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          ละครเท่งตุ๊ก เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีลักษณะการเล่นเหมือนละครชาตรี และในที่นี้ขออธิบายความรู้เกี่ยวกับละครชาตรีไว้ดังนี้

          ละครชาตรีเป็นละครที่เก่าแก่มากประเภทหนึ่งของไทย โดยละครชาตรีกำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา มีผู้สันนิษฐานว่าคงเกิดจากการนำเอาการขับร้องและระบำ รำฟ้อน ประกอบดนตรี ซึ่งไทยมีอยู่แล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาผสมกับละคร เป็นเรื่องแบบอินเดียในสมัยโบราณละครชาตรีเป็นที่นิยมแพร่หลายทางภาคใต้ของไทย เรื่องที่แสดงเข้าใจว่าคงจะนิยมแสดงเรื่องพระสุธนและนางโนราห์ จึงเรียกละครประเภทนี้ว่าโนราห์ชาตรี ต่อมาละครชาตรีได้เข้ามาในเมืองหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  เมื่อ พ.ศ.2312 เสด็จไปปราบเจ้านครศรีธรรมราช และกวาดต้อนผู้คนมาเมืองหลวงพร้อมด้วยพวกละคร ในพ.ศ.2323 คณะละครเจ้านครได้เข้ามาร่วมแสดงในงานฉลองพระแก้วมรกต และได้แสดงประชันกับละครหญิงของหลวงด้วย เหตุการณ์ที่สำคัญที่ทำให้ละครชาตรีมาแพร่หลาย คือ ใน พ.ศ.2375 สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ  บุญนาค) สมัยที่เป็นพระยาพระคลังได้ลงไปปราบและระงับเหตุการณ์ร้ายทางหัวเมืองภาคใต้ คนทางใต้จึงอพยพตามมา รวมทั้งพวกที่มีความสามารถในการแสดงละครชาตรีด้วย พวกนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สนามควาย และรวบรวมการตั้งคณะ รับเหมาแสดงงานต่างๆ จนแพร่หลายและฝึกหัดกันสืบต่อมา ในบางจังหวัดละครชาตรีเล่นในโอกาสต่างๆ สุดแต่เจ้าของงานจะต้องการ ในจังหวัดอ่างทอง  จันทบุรี และตราด  ส่วนมากจะเป็นในงานเกี่ยวกับศาสนา เช่น งานชักพระ งานประจำปีของวัด ฯลฯ จะเห็นได้ว่าความนิยมในเรื่องการแสดงละครชาตรียังอยู่ในรูปการรำบูชาถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์

          ครั้นถึงสมัยรัชการที่ 4  มีละครชาตรีหลวงเป็นละครชาตรีของผู้หญิงทั้งโรง เดิมเป็นละครพระองค์เจ้าปัทมราช พระราชธิดากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ในรัชกาลที่ 1 เมื่อรัชกาลที่ 4 ได้พระทานราชพระบรมราชานุญาตให้เสด็จออกไปรักษาพยาบาลเจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก (พระธิดาเจ้าพระยานครพัฒน์) พระมารดาที่เมืองนครศรีธรรมราช ได้ทรงหัดละครขึ้นโรงหนึ่งเล่นเรื่องอิเหนา ครั้นเจ้าจอมมารดาถึงอนิจกรรมแล้วเสด็จกลับมากรุงเทพฯ พาละครโรงนั้นเข้ามาด้วยแล้วถวายเป็นมรดกแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เล่นเป็นละครชาตรี จึงมีละครชาตรีหลวงขึ้นเพลงหน้าพาทย์ของละครชาตรี ในสมัยก่อนกล่าวว่ากันว่ามี 9 เพลงคือ

  1. เพลงโทน (ละครรำซัด)
  2. เพลงเร็ว
  3. เสมอ (ไปอย่างธรรมดา)
  4. เชิด (ไปมาอย่างธรรมดา)
  5. โอด (ร้องไห้)
  6. ลงสรง (อาบน้ำ)
  7. โลม (เข้าพระ-เข้านาง)
  8. เชิดฉิ่ง (รำไปก่อนใช้อาวุธสำคัญ)
  9. เพลงฉิ่ง (ไปมาอย่างกรีดกรายชมสวน)

         ละครเท่งตุ๊ก ชาวบ้านบางกลุ่มเรียก “เท่งกรุ๊ก”ตามเสียงกลอง ที่ให้จังหวะการแสดงเป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีคณะละครตั้งบ้านเรือนอยู่ 2 ตำบล คือ ตำบลบางกะไชย ที่บ้านบางกะไชย และตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ ที่บ้านชำห้านมีลักษณะการเล่นเหมือนละครชาตรี ซึ่งคล้ายกับการแสดงโนราของทางภาคใต้หรือผสมระหว่างโนราและลิเก เครื่องดนตรีประกอบด้วย โทน 2 ใบ  กลองตุ๊ก (กลองชาตรี) 1 ใบ  ฉิ่ง  ฉาบ และกรับ  ซึ่งต่างจากละครชาตรีภาคกลางที่ใช้เครื่องดนตรีมากชิ้นกว่า และเครื่องดนตรีของละครเท่งตุ๊ก ไม่มีระนาด หรือปี่ การบรรเลงจะใช้สอดแทรกระหว่างการเล่นร้องเท่านั้น การแต่งกายตัวละครสวมเสื้อแขนสั้นมีอินทรนูบนบ่า สวมถุงเท้าขาวคล้ายลิเก สวมมงกุฎ ตัวพระนุ่งโจงหางหงส์ สวมเสื้อมีอินทรนู ใส่ทับทรวงและสวมมงกุฎ  ตัวนางนุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ผ้าห่มหาง ใส่กระบังหน้าและสวมมงกุฎ ในด้านการแสดงนั้น จะมีการบูชาครูเพื่อเป็นสิริมงคลก่อนแล้วจึงมีการโหมโรง โดยตัวพระจะออกมารำซัดแล้วจึงเริ่มแสดง เรื่องที่แสดงนั้นแต่เดิมจะมีเล่นเฉพาะนิยายพื้นบ้าน เช่น เรื่องไชยเชษฐ์  สังข์ทอง  พระรถเมรี  ไกรทอง เป็นต้น  ต่อมาในระยะหลังมีการแสดงเรื่องราวที่อิงชีวิตประจำวัน มีรัก โลภ  โกรธ  หลง  อิจฉาริษยา เหมือนในละครวิทยุและโทรทัศน์ เวลาแสดงละครทุกตัวจะต้องร้องเอง การแสดงจะเรียกเสียงหัวเราะได้จากตัวตลก และสร้างอารมณ์เคียดแค้นด้วยตัวนางกะแหร่งหรือตัวอิจฉา  ละครเท่งตุ๊กจะนิยมเล่นในงานทิ้งกระจาดตามศาลเจ้าพ่อและศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นงานประจำปี งานแก้บนตามโอกาสของผู้ว่าจ้าง และงานอื่นๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ งานเทศกาลต่างๆ ตามวาระและโอกาสของผู้ว่าจ้าง




 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘