หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงละครชาตรีแต่โบราณจะใช้ ปี่ชวา โทน กลองชาตรี (เรียกตามเสียงว่ากลองตุ๊ก) ฆ้องคู่ และกรับไม้ไผ่  เมื่อวัฒนธรรมละครชาตรีได้แผ่ขยายเข้ามาทางภาคตะวันออก และผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจนกลายเป็นละครที่รู้จักกันดีคือละครเท่งตุ๊ก เครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาด้วยนั้นก็คล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของละครชาตรี เพียงแต่เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงละครเท่งตุ๊กไม่มีปี่เข้ามาใช้ดำเนินทำนอง ซึ่งจากการสัมภาษณ์นักแสดงอาวุโส ท่านกล่าวว่า ท่านเกิดมาก็ไม่เห็นมีปี่บรรเลงในวงดนตรีเท่งตุ๊ก คือเป็นเวลา 94 ปี ตามอายุท่าน ซึ่งสันนิษฐานว่าก่อนหน้านั้นอาจจะมีปี่ แต่เนื่องจากหาผู้บรรเลงที่มีความสามารถได้ยากจึงไม่นำมาบรรเลง หรืออาจด้วยเหตุผลอื่นๆ  มีโทนชาตรี  กลองตุ๊ก (กลองชาตรี) ฉิ่ง  ฉาบเล็ก และกรับ ถ้าเล่นแบบพันทาง (ลักษณะคล้ายละครชาตรีเครื่องใหญ่) ก็จะมีระนาดเอกเข้ามาเพิ่ม เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงเท่งตุ๊ก มีดังนี้

  1. โทนชาตรีโทน คือ ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่าโทน เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงของละครเท่งตุ๊ก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำหน้าที่เป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ เป็นหลักคู่กับกลองตุ๊ก และมีความสัมพันธ์กับท่ารำ ลักษณะโดยทั่วไปคือหุ่นกลองทำจากไม้ขุดลักษณะคล้ายกรวย ตอนปลายบานออกเป็นดอกลำโพง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหลังถึงคอ ขนาด หน้ากลองกว้างประมาณ 16.5 ซม.  หุ่นกลองยาวประมาณ 39 ซม.  ทำจากไม้ขนุน



  2. กลองตุ๊ก คือกลองชาตรี ซึ่งละครเท่งตุ๊ก เรียกว่ากลองตุ๊ก ตามเสียงของกลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำหน้าที่กำกับจังหวะ บรรเลงคู่กับกลองชาตรี  ลักษณะมีรูปทรงกระบอกตรงกลางป่องออกเล็กน้อย หน้ากลองตรึงด้วยหมุดซึ่งทำด้วยไม้ กระดูก งาช้าง กระดูกสัตว์ หรือโลหะ กลางกลองด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับแขวน ใช้ขาหยั่งค้ำตั้งขึ้นตี ใช้ไม้ 2 อัน  ลักษณะเป็นไม้ยาวเรียวปลายมน ลูกหนึ่งเสียงสูง เรียกว่าตัวผู้  ลูกหนึ่งเสียงต่ำเรียกว่าตัวเมีย ตัวผู้อยู่ทางขวามือและตัวเมียอยู่ทางซ้ายมือของผู้ตี ขนาด หน้ากลองกว้างประมาณ 25.5 ซม.  หุ่นกลองยาวประมาณ 29 ซม.  ขึ้นหนัง 2 หน้า  ไม้กลองยาวประมาณ 39.5 ซม.  ด้ามจับเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5  ซม.  ตอนปลายไม้เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4 ซม.  หุ่นกลองทำจากไม้ขนุน


  3. ฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะย่อยในการแสดงละครเท่งตุ๊ก  ฉิ่งทำมาจากทองเหลืองหล่อหนา เว้ากลาง ปากผายลม รูปคล้ายฝาขนมครกไม่มีจุก 2 ฝา เจาะรูตรงกลางเว้าสำหรับร้อยเชือก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6.3 ซม.


  4. ฉาบเล็กเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกำกับจังหวะย่อย ทำด้วยโลหะรูปร่างคล้ายฉิ่งแต่หล่อบางกว่า มีขนาดใหญ่กว่าและกว้างกว่า ตอนกลางมีปุ่มกลมทำเป็นกระทุ้งไว้ร้อยเชือก ฉาบเล็กมีขนาดประมาณ 16.7 ซม.


  5. กรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกำกับจังหวะ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 17.8 ซม.  กว้างประมาณ 4.5 ซม. หนาประมาณ 2.5 ซม.




 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘