หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


ระเบียบวิธีการบรรเลง

          คณะละครเท่งตุ๊ก ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นคณะละครที่รับงานตามที่มีผู้ว่าจ้างไปแสดงทั้งในท้องถิ่น และนอกท้องถิ่นของตน โดยสถานที่ในการแสดงจะแตกต่างกันไป เช่น แสดงบนเวทีที่จัดเตรียมไว้ทั้งเวทีกลางแจ้ง และเวทีในอาคาร รวมทั้งหอประชุมต่างๆ การแสดงแต่ละครจึงต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ บางครั้งต้องลดหรือตัดขั้นตอนต่างๆ ในการเตรียมการแสดงออกไป จากการสังเกตการณ์แสดงละครในแต่ละครั้ง จะมีระเบียบวิธีการบรรเลงการแสดงที่ปฏิบัติเป็นประจำดังนี้

  1. ขั้นเตรียมการแสดง
    1. จัดเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมในการจัดวางเครื่องดนตรี ได้แก่ โทน กลองตุ๊ก และเครื่องประกอบจังหวะ  เครื่องละคร ได้แก่ ยอดชฎาพระ-นาง  เครื่องกำนัล ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู 3 คำ บุหรี่ เหล้าขาว เงิน 12 บาท แต่เดิม 2 สลึง) เพื่อเตรียมไหว้ครู  สมาชิกในคณะเตรียมเวที  จัดเตรียมเครื่องละคร  แต่งหน้า ทำผม แต่งตัว
    2. ไหว้ครูโดยเมื่อใกล้ถึงเวลาในการแสดง  หัวหน้าคณะทำพิธีไหว้ครู โดยจุดธูปเทียนบูชาครู นักดนตรีและผู้แสดงพนมมือพร้อมกัน จากนั้นผู้ทำพิธีไหว้กลองตุ๊ก โดยนำไม้ตีกลองตุ๊กจรดลงไปบนหน้ากลอง กล่าวคำบูชาและตีรัวจากช้าไปเร็ว 3 รอบ  จากนั้นไหว้โทน โดยนำหมากพลูมาใส่ไว้ในมือแล้วพนมมือตรงปากโทน กล่าวคำบูชา และใส่หมากพลู ลงไปในโทนจากนั้นตีโทน 3 ครั้ง  จากนั้นผู้แสดงตั้งจิตอธิษฐานขอพรแล้วแยกย้ายกันเตรียมการแสดงต่อไป
  2. ขั้นแสดง
    1. โหมโรง  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการแสดงและเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าจะมีการแสดง การโหมโรงมีลักษณะ 2 แบบ แยกตามลักษณะวงดนตรีที่บรรเลง คือ
      1. แบบที่ใช้วงปี่พาทย์ชาตรี คือ เท่งตุ๊ก  โทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ (ไม่มีปี่)  บรรเลงทำนองจังหวะหน้าทับต่างๆ
      2. แบบใช้วงปี่พาทย์ชาตรีผสมระนาด คือ ระนาดเอก  กลองตุ๊ก  โทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  บรรเลงเพลงโหมโรง ก่อนการแสดง
    2. รำสิบสองท่า  เป็นการรำเพื่อแก้บนให้กับผู้ว่าจ้าง เป็นการรำ 12 ท่า โดยใช้กลองตุ๊ก  โทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ บรรเลงประกอบ  ผู้รำแต่งชุดยืนเครื่องพระ-นาง ยืนเป็นแถวตอนลึกหรือหน้ากระดาน โดยดนตรีจะบรรเลงหน้าทับต่างๆ ประกอบการรำ และเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ ท่าต่างๆ
    3. รำซัดชาตรี  เป็นการร้องและรำโดยเนื้อร้องเป็นการบูชาและระลึกนึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ โดยใช้กลองตุ๊ก  โทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ บรรเลงประกอบ ผู้รำแต่งชุดยืนเครื่องพระ 2 คน ออกมารำ
    4. แสดงเรื่อง  คณะละครเท่งตุ๊ก ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นคณะละครที่ยังอนุรักษ์การแสดงละครแบบโบราณไว้ แต่เดิมนิยมเล่นละครเรื่อง ไชยเชษฐ์  สังข์ทอง  มณีพิชัย  สังศิลป์ชัย เป็นต้น  ปัจจุบันสามารถเล่นละครที่เป็นเรื่องราวสมัยใหม่ขึ้น เป็นเรื่องราวต่างๆ หลากหลายอารมณ์ ซึ่งปรับเปลี่ยนตามความต้องการของเจ้าของงานผู้ว่าจ้าง
  3. ขั้นจบการแสดง
    1. การลงโทน  วงดนตรีบรรเลงเพื่อบอกถึงการจบการแสดงและลาโรง
    2. การเก็บของ  และหัวหน้าคณะ  ลาครูโดยยกมือไหว้ระลึกนึกถึงครูบาอาจารย์



 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘