หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 



          วัฒนธรรมทางด้านดนตรี มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา อนุรักษ์และสืบสาน ดังที่ปัญญา รุ่งเรือง ได้กล่าวว่าดนตรีไทยเป็นสิ่งที่มีขึ้นพร้อมกับคนไทย ดนตรีและศิลปะถือเป็นเครื่องมือสำหรับวัดความเจริญรุ่งเรืองของชาติอย่างหนึ่ง ชาติไทยเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันสูงส่ง เพราะเรามีดนตรีและศิลปะซึ่งเจริญถึงขั้นเป็นแบบฉบับ (Classic) ได้ ดนตรีนั้นถือเป็นภาษาหนึ่ง เมื่อศึกษาแล้วสามารถรู้และเข้าใจถึงวัฒนธรรมของมนุษย์เจ้าของวัฒนธรรมดนตรีนั้นด้วย ดังที่ พูนพิศ อมาตยกุล อธิบายว่าดนตรีเป็นภาษาหนึ่งของมนุษย์ ชาติใดที่มีภาษาพูดภาษาเขียนของตนเอง มักจะมีดนตรีเป็นของตนเองด้วยเพราะดนตรีและเพลงร้องเป็นส่วนหนึ่งที่พัฒนามาพร้อมๆ กับภาษาพูด ชาติไทยนั้นกล่าวได้ว่าเป็นชาติเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 4,000 ปี ดังนั้นเพลงไทยหรือดนตรีไทยคงจะมีความเก่าแก่ย้อนหลังไปไกลถึง 4,000 ปี

          คนไทยสืบทอดสั่งสมวัฒนธรรมดนตรีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แสดงให้เห็นการพัฒนาของวัฒนธรรมดนตรีของไทยเรา ซึ่งแต่เดิมมีรากฐานมาจากการละเล่นพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นบ้าน เป็นวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสังคมไทยแต่เดิมได้เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เรียบง่าย งดงาม ตามวิถีการดำเนินชีวิตแบบไทยๆ

          ปัจจุบันวัฒนธรรมไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลง เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ ได้แพร่กระจายจากสังคมเมือง ชุมชนใหญ่ๆ แทรกเข้าไปสู่หมู่บ้านและชนบททำให้วิถีทางการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป ซึ่งมีผลกระทบต่อบางส่วนของวิถีชีวิตให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป และรวมถึงงานพื้นบ้าน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของศิลปหัตถกรรม และเครื่องใช้พื้นบ้าน และเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบกับวิธีการดำเนินชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ โดยส่วนหนึ่งคือศิลปะพื้นบ้านในด้านวัฒนธรรมดนตรีด้วย จะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของดนตรีไทยทั้งเครื่องดนตรี การผสมวง บทเพลง และอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแตกต่างไปตามสภาวะแวดล้อมและสังคม ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลทำให้งานพื้นบ้านประเภทต่างๆ ดำเนินไปสู่ลักษณะที่เรียกว่าการสลายตัวของศิลปะพื้นบ้าน  มารุต  อัมรานนท์ ได้อธิบายถึงอิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการสลายตัวของศิลปะพื้นบ้านมีดังนี้

  1. อิทธิพลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
  2. อิทธิพลจากวัฒนธรรมหลวง
  3. อิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอก
  4. อิทธิพลจากด้านเศรษฐกิจ
  5. อิทธิพลจากเทคโนโลยีสมัยใหม่

          ในปัจจุบันอิทธิพลจากเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทและมีผลกระทบต่อวัฒนธรรม ดังที่ ยศ  สันตสมบัติ ได้อธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรมไว้ดังนี้

         วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยสาเหตุหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไปวัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปด้วย หากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเกินไปจนกระทั่งวัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติไม่อาจเปลี่ยนแปลงตามได้ทัน ก็อาจส่งผลให้เกิดปรากฏการที่เรียกว่าวัฒนธรรมล้า (Culture Lag) และทำให้มนุษย์ในสังคมนั้นเกิดความรู้สึกแปลกแยก (Alienation)  หรืออาจมีผลกระทบรุนแรงถึงขั้นทำให้วัฒนธรรมเกิดการแปลกแยกสลายไป

          จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม พระยาอนุมานราชธน ได้อธิบายผลสืบเนื่องจากวัฒนธรรมล้า ไว้ดังนี้

         วัฒนธรรมล้า เป็นเรื่องถ่วงความเจริญในวัฒนธรรม ถ้าคนรุ่นหลังซึ่งเป็นทายาทรับแบบเอาไว้ต่อไปไม่ไหว ก็จะโยนทิ้งสิ่งที่แบกไว้ทั้งหมดคือทิ้งไม่ใช่สิ่งที่พอกเข้ามาใหม่ ยังไปทิ้งขว้างสิ่งที่ดีที่เป็นรากฐานแห่งวัฒนธรรมเดิมของตนเสียด้วย จะกลายเป็นชาติที่มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีอดีต และอนาคต หรือไม่มีวัฒนธรรมของตนเอง อันมีรากฐานมาแต่เดิม สำหรับที่จะเสรอมสร้างปัจจุบันให้สืบต่อไปถึงลูกหลานในอนาคตได้



 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘