หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          การแสดงละครเท่งตุ๊กนั้นเป็นการแสดงที่ผู้แสดงจะต้องร้องเอง รำเอง และมีลูกคู่คอยร้องรับอยู่หลังโรง ผู้ที่จะเป็นละครจึงต้องฝึกหัดการขับร้องจนชำนาญ และรู้จังหวะดนตรีเป็นอย่างดี จึงจะร้องและรำได้ถูกต้องตรงตามจังหวะ  วัฒนธรรมดนตรีจึงได้อยู่ควบคู่กับการแสดงละคร การฝึกหัดละครนั้นแต่เดิมเป็นการหัดกันในหมู่เครือญาติถ่ายทอดสืบต่อกันมา และมีผู้อื่นสนใจมาขอฝึก เจ้าของคณะก็จะฝึกให้

          สิ่งที่แสดงถึงความรุ่งเรืองและมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของคณะละครอีกอย่างหนึ่งคือชฎา ที่ทำด้วยเงินแท้ 1 คู่ที่ได้ใช้และตกทอดกันมา ซึ่งยอดชฎาที่ทำด้วยเงินนี้เป็นศิลปะเก่าที่ปรากฏ มีในเครื่องสวมหัวของคณะละครในสมัยรัชกาลที่ 5  อเนก  นาวิกมูล ได้ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องสวมหัวของคณะละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิธรรมรงค์ ปรากฏว่ามี ชฎา ทำด้วยเงินลายแท่งยอด 1 และมกุฎกษัตรีทำด้วยเงินยอด 1 ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

          การฝึกหัดนั้นผู้ที่จะเข้ารับการฝึกหัดละครจะต้องไหว้ครูก่อน โดยการนำสิ่งที่ใช้ในการไหว้ครู ได้แก่ ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก 3 คำ บุหรี่ เหล้า เงิน 12 บาท (แต่เดิม 6 สลึง) และฝึกหัดกันในเวลาว่างหลังจากเลิกงาน เช่น ทำนา ทำไร่ โดยหัดกันตอนเย็นจนถึงเวลากลางคืน ลูกๆ หลานๆ ก็มาเลี้ยงน้องบ้าง นั่งดูบ้าง จดจำตามกันไป การเริ่มฝึกรำสิบสองท่า โดยเด็กๆ ฝึกแล้ว เมื่อมีงานแสดงก็จะได้ออกแสดงรำตามอยู่แถวหลังๆ เพื่อมองรุ่นพี่ จากนั้นฝึกการร้องบทไหว้ครูในรำซัดชาตรี ฝึกรำซัดชาตรีและฝึกร้องเพลงในละคร ได้แก่ เรื่องไชยเชษฐ์ เป็นต้น การแสดงละคร ตัวละครแต่ละตัวจะมีบทที่แตกต่างกันการร้องที่แตกต่างกัน ใครจะได้แสดงเป็นตัวละครตัวใดนั้น ผู้ฝึกจะเป็นผู้สังเกตบุคลิกภาพ นิสัยใจคอว่าเหมาะกับบทใด นักดนตรีนั้นก็จะฝึกสืบทอดต่อๆ กันมา  โดยผู้ใหญ่จะเป็นผู้ตีโทนกลองและฝึกเด็กให้มาตีเครื่องกำกับจังหวะ ฝึกด้วยการปฏิบัติจริง และได้รับประสบการณ์โดยตรง เมื่อเกิดความชำนาญก็จะทำพิธีไหว้ครู ในวันพฤหัสบดี เดือน 6 เป็นการไหว้ครูบาอาจารย์ และครอบครูให้แก่ผู้ที่ฝึกหัดละครและดนตรีเพื่อที่จะได้ออกโรงแสดงจริง เครื่องไหว้ครู ได้แก่ หัวหมู ไก่ ผลไม้ ขนมต้มขาวแดง กล้วย เป็นต้น

          การรับงานแสดง  จะรับงานตามที่มีผู้ว่าจ้างให้ไปแสดง ทั้งงานของคนทั่วไป เช่น งานแก้บน งานไหว้เจ้าศาลเจ้าพ่อ และงานของทางราชการ เช่น งานวันอนุรักษ์มรดกไทย การสาธิตการแสดงละครเท่งตุ๊ก เป็นต้น โดยเล่น 3 ชั่วโมง เรียกว่า 1 แต่ง (ภาษาพูดเรียกว่า แต่งหนึ่ง) หรือครึ่งโรง เช่น เล่นตอนกลางวัน 3 ชั่วโมงจะเรียกว่า 1 แต่งหรือครึ่งโรง ถ้าเล่นกลางวัน และเล่นกลางคืนด้วยรวมเป็น 6 ชั่วโมงจะเรียกว่า 2 แต่ง หรือ 1 โรง (ภาษาพูดเรียกว่า โรงนึง) ราคาว่าจ้างขึ้นอยู่กับระยะทางไกลใกล้ ถ้าอยู่ในหมู่บ้านราคาประมาณ 6,000 บาท เมื่อเล่นไกลๆ จะคิดราคา 10,000 บาท ซึ่งเป็นค่ารถ เครื่องขยายเสียง ในการรับงานมีอัตราค่าจ้างตามจำนวนคนดังนี้

รำ 4   คน 2,000 บาท
รำ 6ุ   คน 4,000 บาท
รำ 9   คน 6,000 บาท
รำ 12 คน 7,000 บาท

          การแสดงต่างๆ สามารถปรับรูปแบบการรำ จำนวนท่ารำ กระบวนการรำทำนองดนตรีให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ และลักษณะงาน ซึ่งทำให้วัฒนธรรมดนตรีของละครเท่งตุ๊กสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมได้ และแสดงถึงความเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน





 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘