หน้าแรก : : จังหวัดจันทบุรี : : มหาวิทยาลัยบูรพา : : มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี : : วิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว

 

แนะนำการแสดงพื้นบ้านเท่งตุ๊ก

บทนำ

ต้นกำเหนิดของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติใน อ.แหลมสิงห์

ผู้สืบทอดละครเท่งตุ๊ก

บทบาทดนตรีและงานแสดง

เพลงของละครเท่งตุ๊ก

ประวัติความเป็นมา

เครื่องดนตรี

การแต่งกายของผู้แสดง

บทเพลงและการขับร้อง

ระเบียบวิธีีการบรรเลง

วีดีโอ แสดงท่ารำ ๑๒ ท่า

ท่าที่ ๑ ท่ากาย

ท่าที่ ๒ ท่ากินรี

ท่าที่ ๓ ท่าแผลงศรี

ท่าที่ ๔ ท่าสอดสร้อยมาลา

ท่าที่ ๕ ท่าช้างประสานงา

ท่าที่ ๖ ท่าชักแป้งผัดหน้า

ท่าที่ ๗ ท่าบัวบาน

ท่าที่ ๘ ท่าแมงมุมชักใย

ท่าที่ ๙ ท่าพาลาเพียงไหล่

ท่าที่ ๑๐ ท่าภูมรเคล้า

ท่าที่ ๑๑ ท่าชักสายทอง

ท่าที่ ๑๒ ท่าชักสายทอง (ต่อ)

ท่าที่ - ท่าลง

ตัวอย่างการแสดงชุด "สอนรำ"

 


          คณะละครเท่งตุ๊ก ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีบทบาทสำคัญในสังคมและวัฒนธรรมในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันละครเท่งตุ๊กได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในท้องถิ่น และงานที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ รวมทั้งเผยแพร่ละครเท่งตุ๊กให้กับประชาชนทั่วไปผ่านทางหน่วยงานของทางราชการ งานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีดังนี้

  1. งานแก้บน และบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือการที่เจ้าภาพได้บนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ได้ผลตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อได้ผลสำเร็จตามที่ได้บนไว้จึงต้องมีการแก้บน โดยส่วนใหญ่เจ้าภาพจะบนละคร คือว่าจ้างให้ละครเท่งตุ๊กรำถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการว่าจ้างจะมีการแสดง 2 ลักษณะ คือ รำสิบสองท่าเพียงอย่างเดียว และการแก้บนโดยการแสดงละครเป็นเรื่อง
    • ขั้นตอนการรำสิบสองท่า ในงานแก้บน
      • โหมโรง
      • รำสิบสองท่า
      • ลงโทน
    • ขั้นตอนการแสดงละครในงานแก้บน
      • โหมโรง
      • รำสิบสองท่า
      • รำซัดชาตรี
      • แสดงละคร
      • ลงโทน
  2. งานบวช  ในงานบวชเจ้าภาพนิยมว่าจ้างละครไปรำในงาน ในช่วงการทำขวัญนาคในตอนเช้าหรือกลางวัน เมื่อทำขวัญนาคเสร็จจึงรำสิบสองท่า
  3. งานศพ  เจ้าภาพจะว่าจ้างละครไปรำในงานศพ ในเวลากลางคืน เมื่อพระสวดพระอภิธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  4. งานขึ้นบ้านใหม่  เมื่อเจ้าภาพจัดงานขึ้นบ้านใหม่ เมื่อพระสวดมนต์เสร็จในช่วงเช้า เจ้าภาพจะจัดให้มีรำสิบสองท่าเพื่อเป็นสิริมงคล หรือเพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในบ้านหรือปู่ย่าตาย ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยรำในบ้าน
    • ขั้นตอนการแสดงรำสิบสองท่า ในงานบวช งานศพ และงานขึ้นบ้านใหม่
      • โหมโรง
      • รำสิบสองท่า
      • ลงโทน
  5. งานทำบุญ ตักบาตรเทโว  ในงานทำบุญที่วัดจะมีผู้ว่าจ้างให้ละครเท่งตุ๊กมาแสดงเพื่อเป็นการแก้บน หรือจัดเป็นพุทธบูชา โดยแสดงเมื่อทำบุญตักบาตรเทโว เสร็จแล้ว
    • ขั้นตอนการแสดงละครในงานทำบุญ ตักบาตรเทโว
      • โหมโรง
      • รำสิบสองท่า
      • รำซัดชาตรี
      • แสดงละคร
      • ลงโทน
  6. งานวัดหรืองานประจำปี  เมื่อทางวัดจัดงานประจำปีขึ้น ก็จะมีการว่าจ้างคณะละครเท่งตุ๊กและลิเกไปแสดง โดยละครเท่งตุ๊กจะแสดงในช่วง 10.00 น. เป็นต้นไป โดยใช้เวลาในการแสดงประมาณ 3 ชั่วโมง ส่วนลิเกจะเล่นกลางคืน
    • ขั้นตอนการแสดงละครในงานวัดหรืองานประจำปี
      • โหมโรง
      • รำสิบสองท่า
      • รำซัดชาตรี
      • แสดงละคร
      • ลงโทน

          จะเห็นได้ว่าศิลปะการขับร้อง ร่ายรำ และดนตรีของละครเท่งตุ๊กเข้าไปมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนในชุมชน และสังคมทั่วไป เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ทั้งในด้านจิตใจ ด้านความบันเทิง และด้านการศึกษา ทำให้วัฒนธรรมดนตรีของละครเท่งตุ๊กยังคงได้รับการสืบทอดต่อไป การปรับเปลี่ยนการแสดงให้เหมาะสมกับงานทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดรูปแบบการแสดงที่ถ่ายทอดออกสู่สาธารณชน 3 รูปแบบ คือ

  1. การรำสิบสองท่า
  2. การรำซัดชาตรี
  3. การแสดงละคร


 

โครงการ "อนุรักษ์ศิลปะการแสดง" เท่งตุ๊ก
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี
๕๗ หมู่ ๑ ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ๒๒๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๓๙๓๑-๐๐๐๐ โทรสาร ๐-๓๙๓๑-๐๑๒๘